Accessory

ส่วนประกอบอวัยวะ กิ๊งกือ



กิ้งกือคืออะไร What is a millipede ?
กิ้งกือมีลำตัวยาว และมีขาสองคู่ต่อหนึ่งวงปล้อง
กิ้งกืออยู่ในกลุ่มสัตว์ที่เรียกว่า Myriapoda ซึ่งประกอบไปด้วยสัตว์ 4
กลุ่มคือ กิ้งกือ (millipedes) ตะขาบ (centipedes)
และที่มีขนาดเล็กสองกลุ่มคือ pauropods และ symphylans
เรามักจะรู้จักกันเพียงกิ้งกือกับตะขาบ (ภาพที่ 2,3) ตะขาบมีหนวด
(antennae) ยาว ในขณะที่กิ้งกือมีหนวดสั้น
ตะขาบมีขาเพียงหนึ่งคู่ในแต่ละวงปล้อง
ขาอาจยาวมากคล้ายตะขาบบ้านอเมริกัน (ภาพที่ 3)
กิ้งกือส่วนมากจะเป็นสัตว์กินพืช (vegetarians)
แต่ตะขาบจะเป็นผู้ล่ากินสัตว์อื่น ส่วนหัวจะมีเขี้ยวพิษ (ภาพที่ 4)
ตัวขนาดใหญ่สามารถกัดมนุษย์ได้ (ภาพที่ 2) ส่วนพวก pauropods
และ symphylans (ภาพที่ 5)
เป็นกิ้งกือที่มีขนาดเล็กอยู่ตามซากทับถม หรือตามไม้เน่า ๆ
มักจะพบเวลาเก็บตัวอย่างซากและตัวอย่างดิน
เรามักพบว่ามีพวกครัชเตเชียนที่ทำให้สับสนในการจำแนกกับกิ้งกือ
ได้คือ Isopoda (ภาพที่ 1) ได้แก่พวกตัวกะปิ (saw bugs และ pill
bugs) ไอโซพอดมีหนวดเรียวยาว ชี้ไปทางด้านหลัง มีขาไม่เกิน 7
คู่ ในขณะที่ตะขาบตัวเต็มวัยมีมากกว่านั้น


ภาพที่ 1. ตัวกะปิที่รู้จักกัน ภาษาอังกฤษเรียกว่า isopod, wood lice,
sawbugs ล่างสุดแสดงขณะม้วนตัว ภาพที่ 2.
แสดงรูปร่างตะขาบที่มีขนาดใหญ่ที่เรียกกันว่า scolopendromorph
centipede ภาพที่ 3. ตะขาบบ้านขายาวอเมริกัน (The long-legged
American house centipede) ภาพที่ 4. เขี้ยวพิษ (poison fangs)
ที่อยู่ส่วนหัวของตะขาบ ภาพที่ 5. myriapods ขนาดเล็ก
Pauropoda และ Symphyla


C. สัณฐานวิทยาของกิ้งกือ Millipede Morphology
กิ้งกือมีร่างกายแบ่งเป็น 2 ส่วน ด้านหน้าเป็นส่วนหัว
ด้านท้ายยาวเป็นส่วนลำตัว ลำตัวมีลักษณะเป็นวงปล้อง (body
rings) (ภาพที่ 6) กิ้งกือตัวเต็มวัยมีขา 2 คู่ต่อหนึ่งวงปล้อง (ภาพที่ 6,
MILLI-PEET, Introduction to Millipedes; Page - 5 -
7) วงปล้องแรกที่ถัดจากส่วนหัวเรียกว่าคอลลัม (collum) ไม่มีขา
(ภาพที่ 6) คอลลัมนั้นนับเป็นวงปล้องที่ 1 อีก 3 วงปล้องถัดไปได้แก่
วงปล้อง 2, 3, 4 มีขาเพียงคู่เดียว (ภาพที่ 6)
กิ้งกือวัยอ่อนไม่มีขาที่วงปล้องส่วนปลายของร่างกาย
การจำแนกกิ้งกือวัยอ่อนเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากมาก
ดังนั้นการตรวจหาชื่อทางวิทยาศาสตร์ในเบื้องต้นนี้ควรใช้กิ้งกือตัวเ
ต็มวัย ที่มีขาครบถ้วนตามรายการข้างต้น


ส่วนปาก (Mouthparts) (ภาพที่ 6) กิ้งกือมีปากอยู่ 2 ส่วนคือ
mandibles ใช้ในการเคี้ยวและกด gnathochilarium (ภาพที่ 6;
ภาพที่ 43, 44 ในรูปวิธาน) การจำแนกในระดับ order
มีความจำเป็นที่จะต้องดูด้านล่างของ gnathochilarium
จับกิ้งกือหงายท้อง หาขาคู่แรก สอดกรรไกรด้านหน้าขาคู่แรก
ถอดส่วนหัวออก จะมองเห็น gnathochilarium
บางที่อาจจะเห็นได้โดยไม่ต้องถอดเอาส่วนหัวออก

ภาพที่ 6. ส่วนของลำตัวในกิ้งกือเพศผู้ใน order Julida
แสดงขาด้านหน้าที่โผล่มาจากวงปล้องที่อยู่ (จาก Blower, 1985)
ขาคู่แรกที่เป็นรูปตะขอสามารถบอกเพศผู้ได้ใน order Julida

ภาพที่ 7 โครงสร้างของวงปล้อง (จาก Demange, 1981)

แหล่งที่มา:

http://archive.fieldmuseum.org/millipeet/pdfsFullarticles/milli_intro/IntroMillipedThai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น