species


       1.กิ้งกือมังกรสีชมพู
 เป็นกิ้งกือมังกรที่พบในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวในโลก ค้นพบโดยนักสำรวจสมัครเล่น กลุ่ม siamensis.org ซึ่งต่อมาได้แจ้งให้ ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา และคณะทราบ เมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2550 บริเวณป่าเขาหินปูนแถบภาคกลางตอนบนต่อกับภาคเหนือตอนล่าง ในอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี
      2. กระสุนพระอินทร์
กิ้งกือกระสุนพระอินทร์  มีลำตัวเป็นปล้องสั้นๆ สามารถม้วนตัวเอาส่วนขาซ่อนไว้ได้อย่างมิดชิดคงเห็นเปลือกหลังที่เรียบแข็งที่เหมือนลูกกระสุนกลมๆ และในเวลาสองสามนาทีหลังจากที่ไม่มีสิ่งรบกวนกิ้งกือก็จะเหยียดกางขาตัวเองออกมาคลานได้เหมือนเดิม เรื่องราวการดำรงชีวิตในระยะตัวอ่อนของกิ้งกือในประเทศไทยยังรู้จักกันน้อยมาก กิ้งกือส่วนใหญ่กินเศษพืชที่เน่าเปื่อยและกินเห็ด ชอบอาศัยอยู่ตามที่ชื้นแฉะ
       3.กิ้งกือเหลืองเท้าส้ม
 เป็นกิ้งกือกระบอกที่มีจำนวนปล้องประมาณ 64-67 ปล้อง ความยาวลำตัวประมาณ 12-15 ซม.  ความกว้างของลำตัวประมาณ 0.7-1 ซม. ลำตัวสีน้ำตาลอ่อน ขามีสีน้ำตาลส้ม ปล้องสุดท้ายมีสีน้ำตาลเข้มและมีหนามแหลมยื่นออกมา โค้งขึ้นด้านบน มีร่องข้างลำตัวยาว ในเพศผู้พบลักษณะของแผ่นตีนตุ๊กแก ที่อ่อนนุ่มสีขาว  พบที่อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

        4.กิ้งกือเหลืองเท้าชมพู
 เป็นกิ้งกือกระบอกขนาดใหญ่ มีจำนวนปล้องประมาณ 61-65 ปล้อง ความยาวลำตัวประมาณ 12-13 ซม. ความกว้างของลำตัวประมาณ 0.7-0.8 ซม. ลำตัวมีสีน้ำตาล ขาและหนวดมีสีชมพู ปล้องสุดท้ายมีหนามแหลมยื่นออกมา โค้งขึ้นด้านบน มีร่องข้างลำตัวยาว ในเพศผู้พบลักษณะของแผ่นตีนตุ๊กแกที่อ่อนนุ่มสีขาว   พบที่อำเภอดอนสัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น