และเพราะว่ามีขามากมายนับไม่ถ้วนขนาดนั้น กิ้งกือจึงได้รับฉายาว่า "สหัสบาท" หรือสัตว์พันขา แต่ที่จริงกิ้งกือมีขาไม่ถึงพันขา เท่าที่นักวิทยาศาสตร์เคยศึกษากันมาจนถึงปัจจุบันพบว่ากิ้งกือมีขามากที่สุด 710 ขา และมีลำตัวยาวตั้งแต่ 2 มิลลิเมตร ถึง 30 เซนติเมตร โดยมักอาศัยอยู่ทั่วไปในดิน ใต้ก้อนหิน ใต้ซากใบไม้ทับถม ตามขอนไม้ผุ ตลอดจนในถ้ำ
ที่มา : http://www.thaidphoto.com/forums/showthread.php?t=78049&page=3
โดยกิ้งกือในไทยที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยและพบบ่อยที่สุด คือ กิ้งกือกระบอกนอกจากนี้ยังมีกิ้งกือยักษ์ กิ้งกือมังกร กิ้งกือตะเข็บ กิ้งกือกระสุน กิ้งกือเหล็ก และกิ้งกือขน ซึ่งอาจารย์สมศักดิ์บอกว่า กิ้งกือทุกชนิดล้วนมีคุณประโยชน์อย่างมหาศาลต่อระบบนิเวศ ต้นไม้ใหญ่ในป่าเขตร้อนอาจไม่สามารถยืนต้นได้อย่างสง่าสงามหากโลกนี้ไม่มีกิ้งกือ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยสลายเศษซากพืช ใบไม้ ลูกไม้ ให้กลายเป็นแร่ธาตุอาหารกลับคืนสู่ธรรมชาติ ซากพืชที่กิ้งกือกินเข้าไป ก็จะถูกถ่ายออกมาเป็นมูลก้อนเล็กๆ คล้ายยาลูกกอน ที่มีทั้งจุลินทรีย์และสารอินทรีย์ที่ช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดิน เช่นเดียวกับมูลของไส้เดือนและหอยทาก
ที่มา:http://www.oknation.net/blog/rukbankerd/2009/06/22/entry-1
ชื่อเว็บ:ถ้ารู้จัก คุณจะรัก...กิ้งกือ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น